หน่วยงาน | สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล | |||
ปีงบประมาณ | 2568 | |||
ตัวชี้วัด | จำนวน "อุทาหรณ์ก่อนกระทำผิด" ที่จัดทำและเผยแพร่เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องวินัยและการรักษาวินัยให้แก่บุคลากร | |||
รหัสตัวชี้วัด | สบค. 4 | |||
แผนปฏิบัติราชการของ สป.กค. | การพัฒนาเสริมสร้างคุณภาพบุคลากร | |||
ประเด็นยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน | เสริมสร้างการบริหารทรัพยากรบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล | |||
มิติการประเมินผล | มิติด้านประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์ | |||
เป้าประสงค์ | เสริมสร้างวินัยให้แก่บุคลากร เพื่อป้องกันการกระทำผิดทางวินัย | |||
น้ำหนัก (ร้อยละ) | 10 | |||
คำอธิบาย |
การลงโทษทางวินัยเป็นหนึ่งในมาตรการที่ใช้ในการรักษาวินัย โดยเป็นมาตรการในทางปราบปราม คือใช้สำหรับลงโทษข้าราชการผู้กระทำผิดวินัยและปรามไว้ให้ข้าราชการโดยทั่วไปไม่กล้ากระทำผิดวินัยเพราะกลัวถูกลงโทษ การลงโทษทางวินัยมิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นการตอบโต้หรือแก้แค้นต่อผู้กระทำผิดวินัย การลงโทษข้าราชการจึงควรดำเนินการให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายหรือระเบียบแบบแผน เพื่อรักษามาตรฐานความประพฤติของข้าราชการ เพื่อจูงใจให้ข้าราชการปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ตลอดจนเพื่อรักษาชื่อเสียงของทางราชการและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อทางราชการ ส่วนวินัยและคุณธรรม ซึ่งมีหน้าที่ในการพิจารณาตรวจสอบสำนวนการดำเนินการทางวินัยที่ส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงการคลังได้รายงานการดำเนินการทางวินัย มายัง อ.ก.พ.กระทรวงการคลัง และเสนอความเห็นต่อ อ.ก.พ.กระทรวงการคลัง ในฐานะฝ่ายเลขานุการ อ.ก.พ.กระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และจากการที่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในสำนวนการดำเนินการทางวินัยข้าราชการที่ถูกลงโทษทางวินัยอันเนื่องมาจากการกระทำผิดวินัยในฐานความผิดต่าง ๆ ดังกล่าวพบว่า ข้าราชการที่ถูกลงโทษทางวินัยส่วนใหญ่มักจะอ้างว่ากระทำไปเพราะไม่รู้และไม่เข้าใจในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ไม่รู้ว่าการกระทำนั้น ๆ เป็นความผิดวินัย รวมถึงไม่รู้ว่าลักษณะการกระทำแบบใดถือเป็นความผิดทางวินัย จึงเป็นเหตุให้ถูกดำเนินการทางวินัยและต้องได้รับการลงโทษทางวินัย ซึ่งโทษทางวินัยมีตั้งแต่ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก จนถึงโทษ ไล่ออกจากราชการ จึงควรมีการจัดทำกรณีตัวอย่างแนวทาง การลงโทษทางวินัยเพื่อเผยแพร่เป็น “อุทาหรณ์ก่อนกระทำผิด” ให้ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง ได้ทราบถึงกรณีตัวอย่างแนวทางการลงโทษทางวินัยว่า หากฝ่าฝืน “ข้อปฏิบัติ” หรือ “ข้อห้าม” ที่กำหนดไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการพลเรือนแล้ว จะมีโทษและมีผลกระทบต่อตนเองอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อให้ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง สำนึกในหน้าที่ที่จะต้องรักษาวินัย และมีความเกรงกลัวไม่กล้าที่จะกระทำความผิด อันจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดขึ้นได้ อีกทั้ง เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปรวมถึงผู้ที่สนใจได้รับทราบและเข้าใจว่าลักษณะการกระทำแบบใดถือเป็นความผิดทางวินัย และการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดประเภทร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง นอกจากนี้ อ.ก.พ.กระทรวงการคลัง ยังสามารถนำกรณีตัวอย่างแนวทางการลงโทษทางวินัยดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาความผิดและกำหนดโทษได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งการกระทำผิด ทั้งนี้ เพื่อให้การลงโทษทางวินัยมีมาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้ง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านวินัยสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาปรับระดับโทษได้อย่างเหมาะสม อยู่ภายในกรอบของกฎหมายและพฤติการณ์แห่งความผิดในแต่ละกรณีอีกด้วย งบประมาณในการดำเนินโครงการ : ไม่มี |
|||
เกณฑ์การให้คะแนน | ||||
ระดับคะแนนตัวชี้วัด | ระดับผลการดำเนินงาน | คำอธิบายเกณฑ์การให้คะแนน | ||
1 | 1 | ดำเนินการจัดทำ "อุทาหรณ์ก่อนกระทำผิด" และนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (http://www.hr.mof.go.th) สื่อประชาสัมพันธ์ภายในสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และกลุ่ม line สร.&สป.กค. จำนวน 1 เรื่อง | ||
2 | 2 | ดำเนินการจัดทำ "อุทาหรณ์ก่อนกระทำผิด" และนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (http://www.hr.mof.go.th) สื่อประชาสัมพันธ์ภายในสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และกลุ่ม line สร.&สป.กค. จำนวน 2 เรื่อง | ||
3 | 3 | ดำเนินการจัดทำ "อุทาหรณ์ก่อนกระทำผิด" และนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (http://www.hr.mof.go.th) สื่อประชาสัมพันธ์ภายในสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และกลุ่ม line สร.&สป.กค. จำนวน 3 เรื่อง | ||
4 | 4 | ดำเนินการจัดทำ "อุทาหรณ์ก่อนกระทำผิด" และนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (http://www.hr.mof.go.th) สื่อประชาสัมพันธ์ภายในสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และกลุ่ม line สร.&สป.กค. จำนวน 4 เรื่อง | ||
5 | 5 | ดำเนินการจัดทำ "อุทาหรณ์ก่อนกระทำผิด" และนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (http://www.hr.mof.go.th) สื่อประชาสัมพันธ์ภายในสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และกลุ่ม line สร.&สป.กค. จำนวน 5 เรื่อง | ||
เงื่อนไข (ถ้ามี) | ดำเนินการจัดทำ "อุทาหรณ์ก่อนกระทำผิด" และนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (http://www.hr.mof.go.th) สื่อประชาสัมพันธ์ภายในสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และกลุ่ม line สร.&สป.กค. จำนวน 5 เรื่อง | |||
หน่วยวัด | จำนวน | |||
เป้าหมายปีปัจจุบัน | 5 | |||
ข้อมูลพื้นฐานย้อนหลัง 1 ปี (ถ้ามี) | 5 | |||
ข้อมูลพื้นฐานย้อนหลัง 2 ปี (ถ้ามี) | 5 | |||
ข้อมูลพื้นฐานย้อนหลัง 3 ปี (ถ้ามี) | 5 | |||
แหล่งข้อมูล/วิธีการจัดเก็บข้อมูล | รายงานการประชุม อ.ก.พ.กระทรวงการคลัง / จัดเก็บใน https://hr.mof.go.th/th/home | |||
ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด | ผู้อำนวยการส่วนวินัยและคุณธรรม | เบอร์ติดต่อ | 2547 | |
ผู้สนับสนุน | นายไตรรัตน์ อิทธิวราภรณ์กุล | เบอร์ติดต่อ | 2603 | |
รายงานผลการดำเนินงาน | ไตรมาสที่ 1 | ไตรมาสที่ 2 | ไตรมาสที่ 3 | ไตรมาสที่ 4 |
ผลการดำเนินงาน | ||||
รายละเอียดการดำเนินงาน | ||||
คะแนนตัวชี้วัด | ||||
คะแนนถ่วงน้ำหนัก | ||||
ไฟล์เอกสาร/หลักฐาน | - ไม่มี - |
3 0 1 5 2